วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


การทำ E - Book ด้วย PDFCreator
ความหมายของ E-book เอาแบบง่าย ๆ ก็คือหนังสือหรือเอกสารทางอีเล็คทรอนิกส์ ที่สามารถอ่านได้โดยอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องปาล์ม โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ ซึ่งจะอ่านได้ก็เมื่อคุณมีโปรแกรมการอ่านจากคนผลิดโปรแกรมที่ทำ e-book 
วิธีทำ หนังสือให้อยู่ในรูปของ E- book ก็มีโปรแกรม ต่าง ๆ มากมายแล้วแต่ใครเขาจะผลิดขึ้นมาขาย แต่ที่ง่ายและคุ้นหูคุ้นตา ก็คือ
การทำให้หนังสือ อยู่ใน ไฟล์ . pdf  แถมมีโปรแกรมแจกฟรี ไปดาวน์โหลดได้ที่ Nectec 
โปรแกรมที่ใช้อ่านหนังสือ e-book ที่อยู่ในไฟล์ pdf นี ก็คือ Acrobat Reader นี่ก็หาง่ายมีให้โหลดทั่วไปในอินเตอร์เน็ท
เริ่มแร พิมพ์หนังสือด้วยโปรแกรม word ธรรมดา ๆ  วิธีที่จะทำให้มันอยู่ใน ไฟล์ pdf
ก็คลิกที่เมนูบาร์ คำสั่ง file>print มันก็จะมีจอการพิมพ์ออกมาให้เห็นตรง ชื่อเครื่องพิมพ์ มีสามเหลี่ยมกลับหัวเล็ก ๆ ให้คลิก แล้วก็เลือก pdfcreator จากนั้นก็รอสักครู่ จะมีจอถามให้ save เอกสาร ก็ตั้งชื่อแล้วกด ok ไปและแล้วไม่นานก็จะได้ หนังสือหรือเอกสารก็จะกลายเป็นe-book 
หากคุณต้องการจะปรับแต่งให้มี password หรืออื่น ๆ ก่อนที่จะเปิดอ่านหนังสือ นี้ ก็ไปปรับแต่งคำสั่งใหม่ได้ที่ Desktop ให้คลิก shortcut รูป pdfcreator จะปรากฏจอสถานะการพิมพ์ขึ้นมาให้เห็นที่เมนู คลิกที่คำสั่ง printer ก็จะมีคำสั่งย่อยลงมาเลือก option แล้วไปยัง format PDF คลิกที่ security จากนั้นก็เลือกติ๊กที่ use security ก็จะมีจอมาถามให้ติ๊กเลือก หรือ ใส่ password ตามที่ต้องการ


          ข้อมูลจาก :  http://www.forwriter.com

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) กับหนังสือทั่วไป

ความแตกต่างของหนังสือทั้งสองประเภทจะอยู่ที่รูปแบบของการสร้าง การผลิตและการใช้งาน เช่น
1. หนังสือทั่วไปใช้กระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช้กระดาษ (อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้)
2. หนังสือทั่วไปมีข้อความและภาพประกอบธรรมดา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างให้มีภาพเคลื่อนไหวได้
3. หนังสือทั่วไปไม่มีเสียงประกอบ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถใส่เสียงประกอบได้
4. หนังสื่อทั่วไปแก้ไขปรับปรุงได้ยาก หนังสื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถแก้ไขและปรับปรุงข้อมูล (update)ได้ง่าย
5. หนังสือทั่วไปสมบูรณ์ในตัวเอง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างจุดเชื่อมโยง (links) ออกไปเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอกได้
6. หนังสือทั่วไปต้นทุนการผลิตสูง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้นทุนในการผลิตหนังสือต่ำ ประหยัด
7. หนังสือทั่วไปมีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ สามารถทำสำเนาได้ง่ายไม่จำกัด
8. หนังสือทั่วไปเปิดอ่านจากเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้องอ่านผ่านคอมพิวเตอร์
9. หนังสือทั่วไปอ่านได้อย่างเดียว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นอกจากอ่านได้แล้วยังสามารถสั่งพิมพ์ (print)ได้
10. หนังสือทั่วไปอ่านได้1 คนต่อหนึ่งเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 เล่ม สามารถอ่านพร้อมกันได้จำนวนมาก (ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต)
11. หนังสือทั่วไปพกพาลำบาก (ต้องใช้พื้นที่) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์พกพาสะดวกได้ครั้งละจำนวนมากในรูปแบบของไฟล์คอมพิวเตอร์ ใน handy drive หรือ CD

“...กลยุทธ์ที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นเทคนิค วิธีการที่ใช้กับการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ด้วยโปรแกรมในตระกูล
Flip Album…”

โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book

โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book มีอยู่หลายโปรแกรม แต่ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันได้แก่
1. โปรแกรมชุด FilpAlbum
2. โปรแกรม DeskTop Author
3. โปรแกรม Flip Flash Album
ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน e-Book ด้วย มิฉะนั้นแล้วจะเปิดเอกสารไม่ได้ ประกอบด้วย
1.1 โปรแกรมชุด FlipAlbum ตัวอ่านคือ FilpViewer
1.2 โปรแกรมชุด DeskTop Author ตัวอ่านคือ DNL Reader
1.3 โปรแกรมชุด Flip Flash Album ตัวอ่านคือ Flash Player

สำหรับบางท่านที่มีความชำนาญในการใช้โปรแกรม Flash Mx ก็สามารถสร้าง e-Book ได้เช่นกัน แต่ต้องมีความรู้ในเรื่องการเขียน Script และ XML เพื่อสร้าง e-Book ให้แสดงผลตามที่ต้องการได้

ความหมายของ e-Book

“อีบุ๊ค” (e-book, e-Book, eBook, EBook,) เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์
คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป

กว่าจะมาเป็น e-Book

หนังสือที่มีอยู่โดยทั่วไป จะมีลักษณะเป็นเอกสารที่จัดพิมพ์ด้วยกระดาษ แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของ ยุคสมัย และความเปลี่ยนแปลงด้านเล็กทรอนิกส์ ที่มีการพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้มีการคิดค้นวิธีการใหม่โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย จึงได้นำหนังสือดังกล่าวเหล่านั้นมาทำคัดลอก (scan) โดยที่หนังสือก็ยังคงสภาพเดิมแต่จะได้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นแฟ้มภาพขึ้นมาใหม่ วิธีการต่อจากนั้นก็คือจะนำแฟ้มภาพตัวหนังสือมาผ่านกระบวนการแปลงภาพเป็นตัวหนังสือ (text) ด้วยการทำ OCR (Optical Character Recognition) คือการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงภาพตัวหนังสือให้เป็นตัวหนังสือที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้
การถ่ายทอดข้อมูลในระยะต่อมา จะถ่ายทอดผ่านทางแป้นพิมพ์ และประมวลผลออกมาเป็นตัวหนังสือและข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนั้นหน้ากระดาษก็เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นแฟ้มข้อมูล (files) แทน ทั้งยังมีความสะดวกต่อการเผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นเอกสาร (documents printing)
รูปแบบของหนังอิเล็กทรอนิกส์ยุคแรกๆ มีลักษณะเป็นเอกสารประเภท .doc, .txt, .rtf, และ .pdf ไฟล์ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ข้อมูลต่างๆ ก็จะถูกออกแบบและตกแต่งในรูปของเว็บไซต์ โดยในแต่ละหน้าของเว็บไซต์เราเรียกว่า "web page" โดยสามารถเปิดดูเอกสารเหล่านั้นได้ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ซึ่งเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สามารถแสดงผลข้อความ ภาพ และการปฏิสัมพันธ์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เมื่ออินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมมากขึ้น บริษัทไมโครซอฟต์ (Microsoft) ได้ผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาเพื่อคอยแนะนำในรูปแบบ HTML Help ขึ้นมา มีรูปแบบของไฟล์เป็น .CHM โดยมีตัวอ่านคือ Microsoft Reader (.LIT)
หลังจากนั้นต่อมามีบริษัทผู้ผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ได้พัฒนาโปรแกรมจนกระทั่งสามารถผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นลักษณะเหมือนกับหนังสือทั่วไปได้ เช่น สามารถแทรกข้อความ แทรกภาพ จัดหน้าหนังสือได้ตามความต้องการของผู้ผลิต และที่พิเศษกว่านั้นคือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ สามารถสร้างจุดเชื่อมโยงเอกสาร (HyperText) ไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกได้ อีกทั้งยังสามารถแทรกเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ลงไปในหนังสือได้ โดยคุณสมบัติเหล่านี้ไม่สามารถทำได้ในหนังสือทั่วไป

รู้จัก E-Book

e-Book หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คำนี้อาจจะเป็นคำใหม่ในความรู้สึกของหลาย ๆ คน แต่ อีกไม่นานจะเป็นที่รู้จัก ในหมู่นักอ่านทั้งหลาย โดยเฉพาะในวงการห้องสมุดซึ่งใน อนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ ให้เป็น ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดดิจิตัลและ ห้องสมุดเสมือน เทคโนโลยีนี้ก็คงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการนำมา ให้บริการกับผู้ใช้ถึง แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับรูปแบบของหนังสือก็ไม่จำเป็นว่า เราต้องโยนหนังสือทิ้งไป แล้วหันมาใช้เทคโนโลยีที่กำลังเกิดขึ้นแทนที่ เพราะเราก็ไม่ ทราบว่าเมื่อไหร่ เทคโนโลยีนี้ จะเป็นที่นิยมและยอมรับอย่าง แพร่หลายและถึงแม้ว่าหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเทคโนโลยี ที่เกิดขึ้นใหม่ ในวงการหนังสือ แต่หนังสือก็ยังมีคุณค่าต่อมนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน